สาระน่ารู้ » AEC คืออะไร

AEC คืออะไร

10 มีนาคม 2019
585   0

AEC หรือ Asean Economics Community คือ การรวมตัวของชาติใน ASEAN จำนวน 10 ประเทศ ประกอบไปด้วย ไทยเวียดนามพม่าลาวมาเลเซียสิงคโปร์อินโดนีเซียบรูไนฟิลิปปินส์ และ กัมพูชา เพื่อจะสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า

ASEAN จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลใน วันที่ 1 มกราคม 2558 ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

ประชาคมอาเซียนเปรียบกับการเป็นครอบครัวเดียวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 พร้อมกับมีการร่วมลงนามในปฏิญญาให้เป็นประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) พร้อมกับมีการแบ่งประชาคมย่อยออกเป็น 3 ประชาคมหลัก ได้แก่
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community – AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Asean Socio-Cultural Community – ASCC)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
AEC หรือ ASEAN Economic Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับ คู่ค้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก รวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี

โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ASEAN Summit ครั้งที่ 8 เมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทาง ได้มีการดำเนินงานที่แน่ชัดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีสำหรับการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำหนดให้ สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 ( ค.ศ. 2015)

เป้าหมายสำคัญของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มี 4 ด้าน คือ
1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน
2. สร้างขีดความสามามารถทางเศรษฐกิจ
3. สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

แหล่งที่มา www.เกร็ดความรู้.net